วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แด่ดวงวิญญาณของผู้พิทักษ์ทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้ง

                                         มรดกของไทยทั้งชาติ
ความอุดมสมบูรณ์ของทุ่งใหญ่ฯเกิดจากระบบนิเวศของป่า พันธุ์พืชจํานวนมาก แหล่งนําและระบบนิเวศของป่าคงไม่อาจรักษาความสมดุลตามธรรมชาติไว้ได้และเมื่อใดพื้นที่ป่าถูกแยกทําให้กระจัดกระจายเป็นหย่อมน้อยป่าก็ไม่สามารถดํารงไว้ซึ้งความสมดุลได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่างได้ว่า ขนาดและความต่อเนื่องของพื้นที่จึงเป็นปัจจัยสําคัญยิ่งต่อการดํารงรักษาสรรพชีวิตให้คงอยู่อย่างสมดุล  สืบ นาคะเสถียร
เคยกล่าวไว้ว่า เพื่อที่จะให้ทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อคงไว้ซึ้งการดูแลรักษาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์มิให้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นกําเนิดดั้งเดิม
และการที่ป่าผืนนี้จะได้รับการพิจราณาโดยคณะกรรมการนานาชาติที่เป็นสมาชิกให้เป็นมรดกโลกหรือไม่ ก็อยู่ที่พวกคนไทยทุกคนจะได้ช่วยกันสนับสนุนในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ที่ไม่ถูกวิธี
ทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้ง ได้รับการคุมครองภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่า โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต่างทุ่มเท่แรงกายแรงใจเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ในคณะเดียวกันปัญหาคุกคามได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน สืบ นาคะเสถียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในเดือนธันวาคม 2532
ในช่วงเวลานั้นป่าแห่งนี้ถูกลบกวนอยู่เสมอจากการล่าสัตว์และการตัดไม้ แต่กลับถูกเพิกเฉยและผู้ที่ทําหน้าที่พิทักป่าก็ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรก่อนที่จะเข้ามาดูแลห้วยขาแข็ง เขาและเพื่อนร่วมอุดมการณ์ต้องแยกออกเป็นสองส่วน และโครงการสัมปทานป่าไม้ในห้วยขาแข้ง ซึ้งเป็นโครงการ
ที่ทําลายคุณค่าของป่าอนุรักษ์แห่งนี้อย่างมหาศาล การณรงค์ให้สาธารณชนรับรู้อย่างกว้างขวางในครั้งนั้น ทําให้โครงการทั้งสองต้องล้มเลิกไปในที่สุด
คุณสืบได้เล็งเห็นว่าหากป่าทั้งสองแห่งนี้อยู่ในสถานะของมรดกโลกจะเป็นการช่วยรับรองความอยู่รอดปลอดภัยของผืนป่า สืบและเพื่อนนักอนุรักษ์จึงพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าและความสําคัญของพื้นที่ เพื่อเสนอต่อ ยูเนสโก ประกาศให้ทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก เอกสารฉบับนี้ได้ นําเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิถุนายน 2533หลังจากนั้น 3 เดือน ในวันที่ 1 กันยายน ณ บ้านพักที่ห้วยขาแข้งคุณสืบได้ทําอัตวินิบาตกรรมด้วยความท้อแท้และสิ้นหวังต่อภาระรับผิดชอบในการทําหน้า ปกป้องป่าห้วยขาแข้งและในปีพ.ศ.2534ทุ่งใหญ่ฯห้วยขาแข้งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกอันเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของสืบที่มาจากหัวใจที่มุ่งมั่นและทุ่มเทในการปกป้องรักษาป่าและสัตว์ป่า

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ป่าใหญ่ผืนสุดท้ายของประเทศไทย

  ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก
ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกและเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีอาณาบริเวณใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ้งมีเนื้อที่ถึง 4,017,091ไร่(6,427ตร.กม.) ครอบคลุมพื้นที่ใน3จังหวัด
ได้แก่ อุทัยธานี กาญจนบุรี และตาก
:ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก: ได้รับการสำรวจระหว่างที่ผลักดันให้ห้วยขาแข้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า(ปีพ.ศ.2510-2511)ทุ่งใหญ่ฯ เป็นป่าผืนใหญ่ที่ติดกันซึ้งพบว่ามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุมมาก จึงเสนอให้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์อีกแห่งแต่ทว่าขณะนั้นมีการเปิดสัมปทานเหมืองแร่และเป็นแหล่งล่าสัตว์ซึ้งเป็นที่รู้จักกันดีของนายพราน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ข้าราชการในเคื่องแบบและบรรดาพ่อค้า จนครั้งหนึ่งเกิดกรณีเฮลิคอปเตอร์ของผู้มีอิทพลตกระหว่างบินกลับจากการล่าสัตว์ที่:ป่าทุ่งใหญ่ฯ:สื่อมวลชลได้เสนอข่าวนี้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นข่าวที่เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์สังคมไทยในที่สุด หลังจากนั้นทุ่งใหญ่ฯ จึงได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในปีพ.ศ.2517บนเนื้อที่2.000.000 ไร่(3.200ตร.กม.)ต่อมาในปีพ.ศ. 2534 ได้รวมป่าสงวนแห่งชาติป่านําโจนบางส่วนที่ยังคงสภาพความเป็น ธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ทางตอนใต้ของทุ่งใหญ่ฯ ทำให้ทุ่งใหญ่ฯมีพื้นที่ป่าร่วมทั้งสิ้น2.279.500ไร่(3.647ตารางกิโลเมตร)ทุ่งใหญ่ฯ จึงเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และเมื่อรวมกับห้วยขาแข้งที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันประเทศไทยจึงมีป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ที่ดีที่สุดของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Mainland south-east asia)ความก้วางใหญ่ของพื้นที่ป่าทั้งสองแห่งจึงเป็นหลักประกันในการรักษาพันธุ์ของต้นไม้ พืช และสัตว์ป่าไว้ได้
ทุ่งใหญ่ฯ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของเทือกเขาถนนธงชัย ทิวเขาส่วนใหญ่พาดจากเหนือลงใต้ ตอนกลางของพื้นที่แผ่กว้างเป็นที่ราบสูง เช่น ทุ่งเซซาโว้ ทุ่งใหญ่นเรศวร อันเป็นที่มาของชื่อในปัจจุบันสภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณซึ้งสิ่งมีชีวิตในป่าแห่งนี้มีการปรับตัวจนสามารถทนต่อไฟป่าที่เกิดขึ้นอยู่เสมอทนต่อไฟป่าที่เกิดขึ้นอยู่เสมอได้อาทิ การก่อส้รางเปลือกหนา เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อ การผลิตยอดอย่างรวดเร็วของต้นปรงเป็นต้น แมลงป่าหลากหลายชนิดมีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าผืนนี้ ผู้เชียวชาญจากพิพิธภัณฑ์ของประเทศอังกฤษได้สํารวจในช่วงเวลาเพียง 2-3 วันในป่าดงดิบชื้นบริเวณหุบแม่จัน บนเนื้อที่ 1 ตร.กม.เท่านั้นพบด้วงปีกแข้งถึง 10.000-ชนิด นับได้ว่าเป็นแหล่งรวมความหลากหลายของแมลงชนิดต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ซึ้งหนึ่งในจํานวนนี้เป็นแมลงที่หายากทุ่งใหญ่ฯ ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และถูกรบกวนจากมนุษย์ไม่มาก โดยเฉพาะด้านตะวันออก ถิ่นอาศัยแห่งนี้จึงเหมาะสําหรับการรองรับสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดีมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ 45 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 33 ของสัตว์ที่มีถิ่นกระจายในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และเป็นร้อยละ 53 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย ในจํานวนนี้มีสัตว์ป่าหายาก เช่น ช้าง เสือ นกเงือกคอแดง นกยุงไทย เป็ดก่า ฯลฯ และสัตว์ป่าสงวนอีก 6 ชนิด ควายป่า(พบที่ลําห้วยขาแข้งเหลือประมาณ 50 ตัวเท่านั้น)สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน เลียงผา และกวางผา นอกจากนี้ยังมีสัตว์เฉพาะถิ่นที่กระจายอยู่ตามถํา เขาหินปูนทางตอนใต้ของป่ามรดกโลกคือ ค้างคาวคูณกิตติและหนูถําผืนป่าทั้งสองแห่งที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทําให้สัตว์ป่าหลายชนิดสามารถโยกย้ายถิ่นอาศัยและแหล่งหาอาหารโดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างป่าซึ้งมีไม่น้อยกว่า 300 ชนิด ถือเป็นถิ่นอาศัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยของช้างป่าหัวใจของพื้นป่าตะวันตก ทุ่งใหญ่ฯถูกรายล้อมด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์เกือบทุกด้านผืนป่าทั้งสองแห่งจึงเป็นเสมือน(หัวใจของป่าตะวันตก)ซึ้งเป็นป่าอันอุดมสมบูรณ์และเมื่อใดที่ทุ่งใหญ่ถูกทําลายลงป่าอนุรักษ์ที่รายล้อมคงไม่อาจดํารงอยู่ได้สมบูรณ์ในขณะเดียวกันป่าอนุรักษ์เหล่านี้ก็ทําหน้าที่เป็นแนวกันชนเพื่อปกป้องใจกลางป่าจากผลกระทบต่างๆที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ ทุ่งใหญ่ เป็นพื้นที่ที่ที่มีคุณค่ายิ่งต่องานศึกษาวิจัยในด้านวิชาป่าไม้ สัตว์ป่า และระบบความสมดุลของระบบนิเวศวิทยายังถูกรบกวนค่อนข้างน้อยจึงได้มีการก่อตั้ง เขานางรํา ในบริเวณห้วยขาแข้งเป็นสถานีวิจัยสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทยในปีพ.ศ.2519โดยได้ผลิตวิจัยออกมาสร้างองค์ความรู้ด้านสัตว์ป่าและธรรมชาติมาโดยตลอดงานวิจัยเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในอนาคตเราอาจค้นพบคุณประโยชน์ทางสังคม-เศรษฐกิจป่าซึ้งเป็นคลังแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ การใช้ยีนส์จากพืชหรือสัตว์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ชนิดพันธุ์ในท้องถิ่น หรือนําไปเป็นอาหารหรือยาคุณค่าเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราสามารถเก็บรักษาความซับซ้อนของระบบนิเวศเอาไว้ได้ซึ้งเราอาจไม่เคยรู้ถึงประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้มาก่อน



กรณีรณรงค์ต่อต้านเขื่อนนําโจน การขัดแย้งเรื่องการทําไม้การเสียชีวิต ของสืบ นาคะเสถียร และสถานภาพของความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ทําให้ ทุ่งใหญ่ฯห้วยขาแข้งเป็นป่าอนุรักษ์ที่รู้จักกัยอย่างกว้างขวาง ผู้คนจํานวนมากต้องการเข้าไปในพื้นที่เพื่อนันทนาการ แต่ทว่าป่าอนุรักษ์ทั้งสองแห่งนี้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ดีที่สุด
                                       ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก